วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วัฒนธรรมของชาวลาวคั่ง

วัฒนธรรมของชาวลาวคั่ง

    คนไทยเชื้อสายลาวคั่งมีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของตนเองได้แก่ ภาษา การแต่ง
กาย ประเพณี และพิธีกรรมความเชื่อ ต่างๆโดยได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน

v    ภาษาที่ใช้ คือภาษาลาวคั่ง นักภาษาศาสตร์ได้จัดภาษาลาวคั่งอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได
v    การแต่งกายของคนไทยเชื้อสายลาวคั่ง จะมีแบบฉบับเป็นของตนเองซึ่งนำวัสดุจากธรรมชาติ           
ในท้องถิ่นคือ ฝ้าย และ ไหม ที่เป็นวัสดุในการทอ เทคนิคที่ใช้มีทั้งการจกและมัดหมี่   ผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดด
เด่นของชาวลาวคั่งคือ   ผ้าซิ่นมัดหมี่ ต่อตีนจก   ซึ่งมีลายผ้าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น และ ผ้าขาวม้า 5 สี
มีลวดลายหลากหลายและสีที่ใช้เป็นสีที่ได้จากธรรมชาติ 

             

  ..................การทอผ้าแบบพื้นบ้าน , ผ้าขาวม้า 5 สี , การนุ่งผ้าซิ่นต่อตีนจก,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,


       เช่นสีเหลืองนำมาจากหัวขมิ้น สีดำนำมาจากมะเกลือ + เทา (ตะไคร่น้ำ) สีครามได้มาจากต้น ครามผสมกับปูนกินหมาก        สีแดงได้มาจากคั่ง    นอกจากจะทอไว้เพื่อใช้ในครัวเรือนแล้ว   ยังทอเพื่อการจำหน่าย   เป็นรายได้เสริมจากอาชีพหลัก และอาชีพหลัก ก็คือ เกษตรกรรม เนื่องจากสภาพดินเหมาะแก่การเพาะปลูกเป็นอย่างมาก ความสามัคคีของลาวคั่ง ชาวลาวคั่งจะมีความสามัคคีกันอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม ของเครือญาติหรือเพื่อนบ้าน เช่น ลงแขกเกี่ยวข้าว ทำไร่ หรือ แม้แต่งานบุญ งานศพ งานรื่นเริงต่างๆ ชาวบ้านก็จะมาช่วยงานกัน เป็นจำนวนมากตั้งแต่เริ่มงานจนงานเสร็จเรียบร้อย

ประวัติลาวคั่ง

ประวัติความเป็นมาของคนไทยเชื้อสายลาวคั่ง
   ประวัติความเป็นมาของลาวครั่งนั้น   จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าบรรพบุรุษได้อพยพมาจาก
อาณาจักรเวียงจันทร์ และหลวงพระบางพร้อมกับลาวกลุ่มอื่นๆได้อพยพเข้ามาที่ประเทศไทยด้วยเหตุผลที่ทางการเมืองและเป็นเชลยศึกยามสงคราม อาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย
         สิริวัฒน์ คำวันสา (2529 : 20)    ได้กล่าวว่าลาวครั่งเป็นชื่อของภาษาและกลุ่มผู้มีเชื้อสายลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในภาคกลางของประเทศไทยเช่นในนครปฐม สุพรรณบุรี ชัยนาท อุทัยธานี กำแพงเพชร ฯลฯ 
ลาวครั่งมักจะเรียกตนเองว่า "ลาวขี้ครั่ง" หรือ "ลาวคั่ง" ความหมายของคำว่า "ลาวครั่ง" ยังไม่ทราบความหมาย
ที่แน่ชัดบางท่านสันนิฐานว่ามาจากคำว่า "ภูฆัง" ซึ่งเป็นชื่อของภูเขาที่มีลักษณะคล้ายระฆัง อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ
 ของหลวงพระบางในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อันเป็นถิ่นฐานเดิมของลาวครั่ง
                                วัลลียา วัชราภรณ์ (2534 : 11-12) ได้สรุป จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อแน่ว่าชาวลาวครั่งถูกกวาดต้อนเข้ามาในประเทศไทยในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีปีพุทธศักราช 2321 และในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชในปีพุทธศักราช 2334 ไม่ปีใดก็ปีหนึ่งอย่างแน่นอน เพราะไทยยกกองทัพไปตีเมือง
หลวงพระบาง และกวาดต้อนครอบครัวของชาวลาวมาในช่วงนั้น เนื่องจากแพ้สงคราม 
    ลักษณะทั่วไปของลาวครั่ง คือมีรูปร่างค่อนข้างไปทางสูงหรือสันทัด ทั้งหญิงและชายผิวค่อนข้อง
เหลือง ตาสองชั้น ใบหน้าไม่เหลี่ยมมากจมูกมีสันผมเหยียดตรง ชอบนุ่งผ้าสิ้นคลุมเข่า นุ่งซิ่นหมี่มีดอก ลาวครั่งมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ในการทอผ้าเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆโดยเฉพาะเทศกาลต่างๆจากเอกสารของนักวิจัยที่ทำการค้นคว้าและศึกษาอาจจะสรุปความหมายของ 
 ลาวครั่งได้ 2 ประเด็น คือ
                ประเด็นที่ 1      มาจากชื่อของภูเขา ในอาณาเขตของอาณาจักรหลวงพระบาง   ที่มีรูปร่างเหมือนกับระฆัง
จึงทำให้เรียกชื่อตามนั้น คือ ลาวภูฆัง และ เรียกกันจนเพี้ยนกลายเป็น ลาวครั่ง

                ประเด็นที่ 2      สันนิษฐานว่าสาเหตุที่เรียกชื่อกลุ่มของตนเองมาตั้งแต่โบราณว่า  ลาวครั่ง เป็นการเรียกตาม
ชื่อของครั่งที่นิยมนำมาใช้ย้อมสีผ้าให้เป็นสีแดง เพื่อใช้ในการทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม


     สำหรับคนไทยเชื้อสายลาวครั่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนมากปัจจุบัน อาศัยอยู่ในอำเภอเดิมบาง
นางบวชเช่นตำบลบ่อกรุ  ตำบลหนองกระทุ่ม ตำบลป่าสะแกในอำเภอด่านช้าง เช่น ตำบลหนอง-มะค่าโมง ส่วนมากนับถือศาสนาพุทธโ